วันพุธที่ 12 สิงหาคม พ.ศ. 2552

ไข้หวัดนก


หวัดนก
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ไปที่: ป้ายบอกทาง, ค้นหา

ไข้หวัดนก (อังกฤษ: avian influenza หรือชื่อสามัญ bird flu) เป็นโรคที่เกิดจากไวรัสไข้หวัดใหญ่ชื่อ H5N1 ซึ่งพบได้ในสัตว์ปีก ค้นพบครั้งแรกในช่วงต้นคริสต์ศตวรรษที่ 19 ในประเทศอิตาลี เรียกกันว่าไข้หวัดสเปน โรคนี้ระบาดอย่างหนักทั่วโลก
การระบาดของไข้หวัดนก สร้างความเสียหายอย่างมากให้กับอุตสาหกรรมสัตว์ปีก โดยเฉพาะในประเทศไทยและเวียดนาม มีการฆ่าสัตว์ปีก โดยเฉพาะไก่ในฟาร์มไปหลายล้านตัว เพื่อระงับการแพร่กระจายของโรค

ภาพจากกล้องจุลทรรศน์อิเลคตรอน ของไวรัสที่ทำให้เกิดไข้หวัดนก (Source: Dr. Erskine Palmer, CDC).
เนื้อหา[ซ่อน]
1 ประวัติการระบาด
1.1 ประเทศจีนและฮ่องกง
1.2 ประเทศเวียดนาม
1.3 ประเทศไทย
1.4 ประเทศญี่ปุ่น
2 การตรวจวินิจฉัยโรค
3 วัคซีนป้องกัน
4 ไข้หวัดนกในคน
5 อ้างอิง
6 แหล่งข้อมูลอื่น
//

[แก้] ประวัติการระบาด
เริ่มระบาดครั้งแรกในปี พ.ศ. 2460-2461 เรียกว่า "ไข้หวัดใหญ่สเปน" (Spanish Flu) มีผู้เสียชีวิตทั่วโลกประมาณ 20-40 ล้านคน
ครั้งที่ 2 เกิดขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2500-2501 เรียกว่า "ไข้หวัดใหญ่เอเซีย" (Asian Flu) มีผู้เสียชีวิตทั่วโลกประมาณ 1-4 ล้านคน
ครั้งที่ 3 เกิดขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2511 เรียกว่า "ไข้หวัดใหญ่ฮ่องกง" (Hong Kong Flu) มีผู้เสียชีวิตทั่วโลกประมาณ 1-4 ล้านคน

[แก้] ประเทศจีนและฮ่องกง
ต่อมาเกิดการระบาดขึ้นอีกโดยเริ่มต้นที่ฮ่องกงในปี พ.ศ. 2540 ในครั้งนั้นมีผู้ติดเชื้อ 18 คน เสียชีวิตไป 6 คน และเมือง Chaohu ในประเทศจีน เมื่อเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2547 และล่าสุดพบนกกระยางป่วยที่พบในสวนสาธารณะแห่งหนึ่งในเขตเมืองใหม่ของฮ่องกงเมื่อ 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2550 พบว่าติดเชื้อไข้หวัดนก H5N1 [1]
มีนาคม พ.ศ. 2551 มีรายงานการระบาดที่ในตลาดใหม่จินฮวาเขตลี่วาน เมืองกว่างโจว ทำให้มีสัตว์ปีกเสียชีวิต 114 ตัว และมีการฆ่าทำลายสัตว์ปีกอีก 518 ตัว [2]

[แก้] ประเทศเวียดนาม
มีนาคม พ.ศ. 2550 เชื้อไวรัสไข้หวัดนกในเป็ดอายุ 45 วัน ในจังหวัดวินห์ลอง บริเวณสามเหลี่ยมปากแม่น้ำโขง โดยเป็ดเหล่านั้นไม่ได้รับการฉีดวัคซีนต้านเชื้อไวรัสเอช 5 เอ็น 1และ ทางการเวียดนามได้สั่งฆ่าเป็ดไปแล้ว 800 ตัว และสั่งฆ่าเชื้อโรคในพื้นที่ที่พบการระบาดที่อยู่ห่างจากนครโฮจิมินห์ ไปทางตะวันตกเฉียงใต้ 140 กม.[3]
พฤษภาคม พ.ศ. 2550 พบการระบาดของไข้หวัดนกในฟาร์มเป็ดอีกแห่งนอกเมืองไฮฟอง ทำให้ลูกเป็ดอายุ 14 วัน ซึ่งยังไม่ได้รับวัคซีนล้มตาย 2,120 ตัว และผลตรวจพบว่าติดเชื้อไวรัสไข้หวัดนก เอช 5 เอ็น 1 นับเป็นการระบาดของไข้หวัดนกครั้งที่ 2 ในพื้นที่ดังกล่าว [4] และเวียดนามพบการติดเชื้อไข้หวัดนกครั้งแรกที่จังหวัดเงียอาน ของเวียดนาม [5]

[แก้] ประเทศไทย
มีการระบาดมาสู่ประเทศไทย บริเวณจังหวัดพระนครศรีอยุธยา และจังหวัดปทุมธานี

[แก้] ประเทศญี่ปุ่น
พบไวรัสไข้หวัดนก ในซาก " อินทรีเหยี่ยวภูเขา" มีผู้พบอินทรีตัวดังกล่าวมีอาการป่วย ที่หมู่บ้านซาการ่า ในจังหวัดคุมาโมโต้ ทางภาคใต้ของญี่ปุ่น เมื่อ 4 มกราคม พ.ศ. 2550[6]

[แก้] การตรวจวินิจฉัยโรค
ไข้หวัดนกในระยะแรกต้องใช้เวลาในการตรวจสอบนาน 3-4 วันโดยวิธีมาตรฐานสำหรับการตรวจวินิจฉัยโรคไข้หวัดนกสายพันธุ์ เอช 5 เอ็น 1 คือวิธีการเพาะแยกเชื้อไวรัสในไข่ไก่ฟักหรือเซลล์เพาะเลี้ยง เมื่อ พ.ศ. 2551 ทีมวิจัยคณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พัฒนาชุดตรวจสอบไข้หวัดนก เอช 5 เอ็น 1 ครอบคลุมถึงไข้หวัดใหญ่ที่ใช้ต้นทุนการตรวจต่ำและรู้ผลภายใน 1 วันได้สำเร็จ [7]

[แก้] วัคซีนป้องกัน
สหรัฐอเมริกาผลิตวัคซีนไข้หวัดนกตัวแรก โดยสร้างจากสายพันธุ์ที่ติดเชื้อในคน เมื่อ พ.ศ. 2550[8] ในประเทศจีน พ.ศ. 2551 บริษัทชีวผลิตภัณฑ์เคอซิงปักกิ่ง ผลิตวัคซีนไข้หวัดนกและใช้กับอาสาสมัครกว่า 500 ซึ่งยืนยันว่าวัคซีนมีความปลอดภัยและมีประสิทธิผล [9]